โรคผิวหนังอักเสบ

โรคผิวหนังอักเสบ เป็นอีกหนึ่งปัญหาเกี่ยวกับผิวหนังที่ทำให้หลายคนหมดความมั่นใจ เพราะเวลาที่ผิวหนังอักเสบจะทำให้รู้สึกคัน ผิวหนังมีรอยแดงอยู่ตลอดเวลา บางครั้งอาจรุนแรงถึงขั้นมีตุ่มน้ำ ผิวหนังลอกได้ ดังนั้นวันนี้เราจะมาทำความรู้จักกับโรคผิวหนังอักเสบอย่างละเอียดกัน เพื่อป้องกันไม่ให้มีโรคผิวหนังเกิดขึ้นกับเราได้


โรคผิวหนังอักเสบ เกิดจากอะไร 

โรคผิวหนังอักเสบ

โรคผิวหนังอักเสบที่เกิดขึ้นมักเกิดขึ้นจากภาวะที่ผู้ป่วยมีระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายอ่อนแอ เมื่อไปสัมผัสกับสารก่อภูมิแพ้หรือสิ่งที่ทำให้เกิดการระคายเคือง เช่น ละอองเกสร ขนสัตว์ ไรฝุ่น แบคทีเรีย เชื้อรา ขนสัตว์ สารเคมี อาหาร เป็นต้น ซึ่งอาการภูมิแพ้จะมีหลายลักษณะ เช่น ผิวหนังแดง เป็นผื่นคัน ตุ่มน้ำ เป็นต้น โดยความรุนแรงของอาการผิวหนังอักเสบจะมากหรือน้อยก็ขึ้นอยู่กับความแข็งแรงร่างกาย หากร่างกายแข็งแรงความรุนแรงของผิวหนังอักเสบจะน้อย แต่ถ้าร่างกายอ่อนแอความรุนแรงของอาการผิวหนังอักเสบจะสูงและอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ หากทำการรักษาไม่ทันเวลา


โรคผิวหนังอักเสบอาการ

โรคผิวหนังอักเสบ

โรคผิวหนังอักเสบที่พบมีอยู่ด้วยกันหลายชนิด ซึ่งแต่โรคผิวหนังอักเสบแต่ละชนิดจะมีลักษณะของอาการและสาเหตุที่ต่างกันออกไป โดยสามารถแบ่งชนิดของภาวะผิวหนังอักเสบออกได้เป็น 6 ชนิดด้วยกัน คือ

  1. ผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง (Atopic Dermatitis)  จัดเป็นโรคผิวหนังที่สามารถพบได้มากที่สุด โดยเฉพาะในวัยเด็กถึงวัยรุ่น เนื่องจากในช่วงอายุนี้จะมีภูมิคุ้มกันไม่แข็งแรง จึงมีอาการแพ้ที่บริเวณผิวหนังเกิดโรคผิวหนังอักเสบได้ง่าย 
  2. ผื่นแพ้สัมผัส (Contact Dermatitis) รอบตัวคนเรามีสารที่สามารถก่อให้เกิดอาการแพ้เป็นจำนวนมาก ซึ่งหากมีการสัมผัสการสารก่อภูมิแพ้ก็จะทำให้เกิดภาวะผิวหนังอักเสบได้ ซึ่งสามารถแบ่ง 2 แบบ คือ
  • อาการระคายเคือง คือ การที่ร่างกายเกิดผื่นคัน แดงเล็กน้อยตามอวัยวะของร่างกาย โดยส่วนมากบริเวณที่เกิดอาการระคายเคืองหรือผื่นแดงจะเป็นจุดที่สัมผัสกับสารก่อภูมิแพ้ ซึ่งอาการการระคายเคืองที่เกิดขึ้นเป็นอาการที่ส่งผลกับผิวหนัง แต่ไม่ส่งผลกระทบเข้าไปถึงระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย ความรุนแรงจึงไม่มาก ดังนั้นจึงใช้เวลาในการรักษาไม่นานก็หายเป็นปกติ
  • อาการแพ้สัมผัส คือ การที่ระบบภูมิคุ้มกันทำปฏิกิริยากับสารก่อภูมิแพ้ที่สัมผัส ทำให้เกิดภาวะแพ้ เป็นผื่นคันจำนวนมากและมีอาการหายใจไม่ออก นับเป็นอาการแพ้ในขั้นที่รุนแรง ดังนั้นหากมีอาการแพ้แบบนี้จะต้องทำการรักษาด้วยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญอย่างรวดเร็ว
    1. ผื่นผิวหนังอักเสบชนิดตุ่มน้ำ (Dyshidrotic Eczema) ภาวะที่ผิวหนังอักเสบจนทำให้เกิดตุ่มน้ำใส ๆ ที่บริเวณง่ามนิ้วมือ นิ้วเท้า ฝ่ามือ หรือฝ่าเท้า
    2. ผื่นผิวหนังอักเสบรูปร่างกลมหรือวงรี (Nummular Eczema) ภาวะผิวหนังอักเสบที่ผื่น เนื่องจากผิวแห้งหรืออยู่ในพื้นที่ที่มีอากาศแห้ง โดยผื่นจะมีลักษณะกลมคล้ายรูปเหรียญ สามารถพบได้ทั่วร่างกาย โดยเฉพาะอวัยวะส่วนล่าง เช่น ขา เป็นต้น
  • ผื่นผิวหนังอักเสบที่ข้อเท้า (Stasis Dermatitis) อาการผิวหนังอักเสบที่ทำให้เกิดการตกสะเก็ด เกิดเนื่องจากระบบไหลเวียนเลือดไม่ดี พบได้อาการตกสะเก็ดได้มากที่บริเวณข้อเท้า 

จะเห็นว่าอาการของโรคผิวหนังอักเสบจะมีลักษณะต่างกันตามสาเหตุ ซึ่งความรุนแรงของอาการก็จะแตกต่างกันตามแต่ละบุคคลอีกด้วย


วิธีดูแลและรักษา โรคผิวหนังอักเสบ

โรคผิวหนังอักเสบ

อาการโรคผิวหนังอักเสบไม่สามารถคาดเดาได้ว่าจะเกิดขึ้นเมื่อไหร่และจะมีความรุนแรงมากหรือน้อย นอกจากนี้ ภาวะผิวหนังอักเสบยังไม่มีอาการบ่งชี้ว่ากำลังจะมีอาการเกิดขึ้น แต่เมื่อมีอาการเกิดขึ้นแล้ว มีวิธีการดูแลและรักษาให้หายได้ ดังนี้

  1. ออกกำลังกาย ควรออกกำลังกายอย่างน้อยสัปดาห์ละ 1-2 ครั้ง เพื่อสร้างภูมิต้านทานของร่างกายให้แข็งแรงอยู่เสมอ
  2. หลีกเลี่ยงสารก่อภูมิแพ้ อาการโรคผิวหนังอักเสบที่มีสาเหตุมาจากการสัมผัสสารก่อภูมิแพ้ เช่น ละอองเกสร ขนสัตว์ ไรฝุ่น แบคทีเรีย เชื้อรา ขนสัตว์ สารเคมี อาหาร เป็นต้น ผู้ป่วยควรหลีกเลี่ยงจากสารก่อภูมิแพ้ เพื่อป้องกันไม่ให้อาการมีความรุนแรงมากขึ้น
  3. ใช้ผลิตภัณฑ์สูตรอ่อนโยน ปัจจุบันนี้ผลิตภัณฑ์ที่อยู่รอบตัวเราจะมีส่วนประกอบของสารเคมีหลายชนิด เช่น ยาสระผม สบู่ ครีมทาผิว เป็นต้นดังนั้นควรเลือกผิลตภัณฑ์ที่เป็นสูตรอ่อนโยนหรือสารจากธรรมชาติ เพื่อลดความเสี่ยงในการแพ้สารเคมี
  4. ทายาแก้คันและแก้แพ้ สำหรับผู้ป่วยที่มีผื่นแดง คันเป็นจุดขนาดเล็ก สามารถทายาแก้แพ้และแก้คันที่บริเวณมีผื่นแดงและมีอาการคัน เพื่อบรรเทาและรักษาอาการผิวหนังอักเสบที่เกิดขึ้นได้ เช่น คารามายด์ เป็นต้น หากอาการไม่ดีขึ้นให้กินยาร่วมด้วย 
  5. รับประทานยา สำหรับผู้ที่มีอาการผิวหนังอักเสบที่มีอาการคันซึ่งมีสาเหตุมาภูมิแพ้ ควรกินยาแก้แพ้ลดอาการคันและแก้อักเสบ เช่น ยาต้านฮิสตามีน คลอเฟนนิลามีน เป็นต้น หลังรับประทานยาประมาณ 1-2 ชั่วโมง อาการคันเนื่องจากผิวหนังอักเสบจะลดลงและค่อย ๆ หายไป 
  6. พบแพทย์ สำหรับผู้ที่มีภาวะผิวหนังอักเสบขั้นรุนแรง เช่น เป็นผื่นทั่วตัว เป็นตุ่มน้ำใส มีอาการหายใจลำบาก หน้ามืด เป็นต้น จะต้องพบแพทย์เพื่อทำการรักษาทันที เพราะภาวะผิวหนังอักเสบขั้นรุนแรงที่ส่งผลกระทบต่อระบบทางเดินหายใจ อาจจะทำให้เสียชีวิตได้หากทำการรักษาไม่ทันเวลา ดังนั้น เมื่อมีอาการผื่นแดงทั่วร่างกาย ควรรีบไปพบแพทย์หรือปรึกษาแพทย์ผ่านแอพลิเคชั่น โดยไม่ควรทายาหรือกินยาเพียงอย่างเดียว 

สำหรับโรคผิวหนังอักเสบเป็นโรคที่เกิดขึ้นอย่างเฉียบพลัน โดยเฉพาะผู้ที่มีภาวะภูมิแพ้หรือมีร่างกายอ่อนแอ จะมีโอกาสเกิดภาวะโรคนี้ได้มาก ดังนั้นควรทำการทดสอบสารก่อภูมิแพ้ที่ร่างกายแพ้ เพื่อที่จะได้อยู่ให้ห่างสารก่อภูมิแพ้เหล่านั้น เพราะการป้องกันไม่ให้เกิดโรคภผิวหนังอักเสบเป็นการรักษาที่ดีที่สุด


อ้างอิง

 

Similar Posts