ร้อนใน หรือ แผลเปื่อยในปาก (Aphthous ulcer) เป็นอาการที่เยื่อบุอ่อนบริเวณภายในช่องปากเกิดการอักเสบจนกลายเป็นแผลที่มีลักษณะวงกลมหรือวงรีที่มีสีเหลืองหรือสีขาวตรงกลาวและล้อมรอบแผลด้วยสีแดง มักจะมีอาการดังกล่าวบริเวณกระพุ้งแก้ม ลิ้น ริมฝีปากด้านในและเหงือก เป็นต้น ซึ่งอาการแผลเปื่อยในปากแพทย์ไม่สามารถระบุสาเหตุได้ชัดเจน เนื่องจากแผลดังกล่าว มักจะเป็นสัญญาณเตือนโรคอื่น ๆ เสมอ เช่น ลำไส้อักเสบ ขาดน้ำ ขาดวิตามิน ฯลฯ ดังนั้นผู้ที่มีอาการแผลเปื่อยในปากบ่อยครั้ง อย่าชะล่า แนะนำหาสาระและความรู้ที่ดี และ วิธีแก้ร้อนใน จากบทความนี้ไปดูแลตนเองได้เลย
เปิดสาเหตุ ร้อนใน เกิดจากอะไร
เมื่อมีอาการร้อนในบ่อยครั้งและถี่มาก นั้นไม่ใช่สัญญาณที่ดีที่ควรชะล่าใจ เพราะร่างกายกำลังส่งสัญญาณเตือนถึงปัญหาสุขภาพบางอย่าง ผู้ที่มีอาการควรเข้าพบแพทย์เพื่อทำการวินิจฉัย โดยการวินิจฉัยของแพทย์หรือทันตแพทย์ จะตรวจดูบาดแผลภายในช่องปากก่อน เพื่อดูระดับความรุนแรงของการอักเสบ หากมีอาการที่รุนแรง จะมีการนำชิ้นเนื้อภายในช่องปากไปตรวจหรือเจาะเลือดตรวจเพื่อหาสาเหตุที่แท้จริง เนื่องจากสาเหตุของอาการแผลเปื่อยในปากสามารถเกิดขึ้นได้หลากหลายมาก ๆ แต่ส่วนใหญ่ที่แพทย์วินิจฉัยพบมากที่สุด ได้แก่ 7 สาเหตุ ได้แก่
- การแปรงฟันหรือรับประทานอาหารรุนแรง ทำให้เยื่อบุภายในช่องปากเกิดการอักเสบจากแรงกระแทกได้
- ฮอร์โมนภายในร่างกายเกิดการเปลี่ยนแปลง ทำให้ระบบภูมิคุ้มกันต่ำลง เมื่อมีสิ่งเร้าเข้ามากระตุ้นที่เยื่อบุภายในช่องปากเล็กน้อย ก็ส่งผลให้มีการอักเสบเกิดขึ้นได้
- ความเครียดสะสมเป็นระยะเวลานาน เป็นพฤติกรรมที่มาจากสำรวจแล้วพบว่าในช่วงที่ความเครียดมาก ๆ มักจะเกิดอาการดังกล่าวขึ้นมา
- ดื่มน้ำไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย ซึ่งน้ำเป็นสสารที่ช่วยควบคุมความสมดุลของอุณหภูมิภายในร่างกายได้ เมื่อดื่มน้ำน้อยเกินไป ทำให้ความร้อนในร่างกายเพิ่มขึ้นและเกิดความกระหาย ปากแห้ง คอแห้ง เป็นอีกหนึ่งสาเหตุของการเกิดแผลเปื่อยในปากได้เช่นกัน
- การนอนหลับพักผ่อนไม่เพียงพอ นอนไม่หลับหรือนอนน้อยมีส่วนช่วยทำให้ภูมิคุ้มกันภายในร่างกายต่ำลง จึงมีความเสี่ยงสูงที่จะเป็นแผลดังกล่าว เพราะร่างกายต้านทานการอักเสบได้ลดลง
- เกิดจากการกดทับของบางสิ่ง เช่น อุปกรณ์จัดฟัน ฟันปลอม ฯลฯ ซึ่งอุปกรณ์ดังกล่าวเป็นวัสดุที่แข็งมาก แล้วเยื่อบุเป็นอวัยวะที่บอบบาง เมื่อกระทบกัน ทำให้เกิดแผลในช่องปากได้ การกัดกระพุ้งแก้มหรือลิ้นของตนเอง ก็มีส่วนทำให้เกิดแผลดังกล่าวได้ และสุดท้าย
- การขาดวิตามินวิตามินบี 12 หรือธาตุเหล็ก เป็นสาเหตุหลัก ๆ ที่แพทย์และทันตแพทย์มักจะวินิจฉัยแล้วลงความมามากที่สุด ดังนั้นควรดูแลตนเองให้แข็งแรงเสมอ
สำหรับผู้ที่มีอาการแผลเปื่อยในปากแล้ว ต้องการทราบวิธีบรรเทาอาการก่อน เพราะว่าเวลาที่เป็นแผลในปากจะรู้สึกเจ็บแสบ ไม่สามารถทานอาหารได้เหมือนปกติ ดังนั้นนั้นหัวข้อถัดไป จึงมีคำแนะนำในการดูแลแผลในช่องปากแบบง่าย ๆ สามารถทำเองได้ ก่อนเข้าพบแพทย์มาบอกทุกคน เพื่อเป็นแนวทางกัน
วิธีบรรเทาอาการร้อนใน
หากมีอาการแผลเปื่อยในปาก สามารถ วิธีแก้ร้อนใน เร่งด่วนเบื้องต้นได้ แม้จะไม่หายขาดทันที ทว่าเป็นแนวทางในการบรรเทาอาการเจ็บป่วยได้ เพื่อเข้ารับการรักษาที่ถูกต้องในลำดับถัดไป ซึ่งวิธีการบรรเทามีหลักการง่าย ๆ ได้แก่
- พิจารณาหาสาเหตุด้วยตนเองก่อน โดยให้คิดย้อนกลับไปว่าก่อนหน้าที่จะมีอาการ ทุกคนไปกระทำการสิ่งใดมา เมื่อทราบแล้วให้หยุดพฤติกรรมเหล่านั้น เช่น บางคนมีความเครียด ให้หากิจกรรมผ่อนคลายตนเองทำ หรือบางคนดื่มน้ำน้อย ก็ดื่มน้ำให้ได้ตามปริมาณที่ร่างกายต้องการ ฯลฯ
- ไม่ทานอาหารรสจัดหรือเผ็ดเกินไป ให้ทานอาหารที่อ่อน ๆ เพื่อป้องกันไม่ให้รสชาติของอาหารที่มีความแสบ ร้อน เปรี้ยว เค็ม ต่าง ๆ เข้าไปในแผลให้มีอาการเจ็บปวดมากขึ้น
- ดื่มน้ำที่มีอุณหภูมิเท่าอุณหภูมิห้อง โดยที่ไม่ใช้การยกดื่มแต่ใช้หลอดดูดน้ำแทน เพื่อป้องกันไม่ให้น้ำเข้าแผลแล้วส่งผลให้มีอาการแสบรุนแรงขึ้นมาได้
- เปลี่ยนยาสีฟันให้เป็นสูตรที่อ่อนโยน เพราะยาสีฟันบางชนิดจะมีส่วนผสมของมินต์ที่ทำให้มีอาการแสบแผลและแผลอักเสบได้นั้นเอง
- ใช้แปรงที่มีขนไม่แข็งมาก เพราะขนแปรงที่แข็งจนเกิดไป เมื่อทำความสะอาดฟันในช่องปากมีโอกาสที่ขนแปรงจะกระทบกับแผล แล้วทำให้แผลอักเสบรุนแรงมากขึ้น
- ใช้น้ำยาบ้วนปากที่มีส่วนผสมของยาฆ่าเชื้อหรือการบ้วนปากด้วยน้ำเกลือ จะลดการอักเสบของแผลได้ หากแผลรุนแรงควรพบแพทย์หรือทันตแพทย์ เพื่อรักษาอย่างถูกวิธี เพื่อสุขภาพช่องปากที่ดี
วิธีแก้ร้อนใน อย่างไรให้ได้ผล
เมื่อทราบ วิธีแก้ร้อนใน ในปาก เพื่อช่วยบรรเทาอาการเบื้องต้นแล้ว ในส่วนของการรักษาแผลเปื่อยในปาก จะถูกแบ่งออกเป็น 2 ส่วนใหญ่ ๆ ได้แก่ การรักษาด้วยตนเอง สำหรับผู้ที่มีอาการไม่รุนแรง ให้ใช้วิธีบรรเทาอาการข้างต้นควบคู่กับการทำความสะอาดช่องปากให้ปราศจากสิ่งสกปรกเสมอ แล้วอาการจะหายได้เอง ภายใน 7-14 วัน หากเกินระยะเวลาที่กำหนดไปแล้ว อาการแผลดังกล่าวไม่ทุเลาลง ให้ใช้การรักษาโดยแพทย์ได้ทันที
แพทย์จะสอบถามอาการ ดูบาดแผลและสั่งจ่ายยา หากวินิจฉัยแล้วไม่รุนแรง แต่ถ้ารุนแรงก็จะต้องส่งตรวจละเอียดมากกว่านั้น เนื่องจากอาการแผลในช่องปาก แม้หลายคนจะมองว่าไม่รุนแรง แค่แผลเล็ก ๆ แต่แผลที่เห็น อาจจะเป็นจุดเริ่มต้นของโรคแทรกซ้อนก็ได้ ควรดูแลสุขภาพช่องปากให้แข็งแรงเสมอ
วิธีแก้ร้อนในแบบง่าย ๆ ได้ใช้ผล
สำหรับที่มีแผลเปื่อยในปาก ได้รับยาแก้ร้อนใน เร่งด่วน มาแล้ว ต้องการเร่งอาการให้หายได้ไวมากขึ้น คนไทยมักจะมีตำราโบราณหรือทริคต่าง ๆ เพื่อช่วยให้อาการเจ็บปวดลดลง ซึ่งในโรคดังกล่าวนี้ก็มีเช่นกัน มี 5 วิธียอดนิยม ดังนี้
-
ดื่มน้ำเปล่าสะอาดให้ได้วันละ 2 ลิตร
เพื่อรักษาสมดุลอุณหภูมิภายในร่างกาย ช่วยกระตุ้นให้ระบบภูมิคุ้มกันและระบบอื่น ๆ ภายในร่างกายทำงานได้ดีมากขึ้น การต้านการอักเสบของแผลก็จะดีขึ้น และเป็น วิธีแก้ร้อนใน ร่างกาย ได้ด้วย
-
การใช้น้ำเกลือบ้วนปากเป็นประจำ
สำหรับผู้ที่มีแผลในปากแล้วหาน้ำยาบวนปากสูตรอ่อนโยนไม่ได้ สามารถใช้น้ำเกลือแทนได้ จะซื้อหรือใช้เกลือสะอาดละลายน้ำเปล่าก็ได้เช่นกัน โดยวิธีการให้กลั้วน้ำเกลือภายในปากเป็นเวลา 30 วินาที แล้วบ้วนทิ้ง ซึ่งน้ำเกลือจะไปช่วยลดการอักเสบของแผลได้ แล้วยังฆ่าเชื้อโรค เชื้อแบคทีเรีย ช่วยให้อาการดีที่ขึ้นไวด้วย
-
ทาน้ำผึ้งแท้บนบาดแผล
เนื่องจากน้ำผึ้งแท้ที่ไม่มีการผสมสารต่าง ๆ ลงไปเพิ่ม มีสารชนิดหนึ่งที่ช่วยสมานบาดแผลได้ ช่วยให้แผลหายไว้รวดเร็ว และยังป้องกันการติดเชื้อแบคทีเรียที่อยู่ภายในช่องปากได้เป็นอย่างดีเลย
-
ไม่ทานอาหารที่ทำให้แผลอักเสบรุนแรงขึ้น
ซึ่งอาการที่กระตุ้นให้แผลเกิดการอักเสบได้นั้น จะเป็นอาหารที่มีรสชาติจัดจ้านหรือของทอดต่าง ๆ ควรทานอาหารที่มีรสชาติอ่อน ย่อยง่าย ให้ทานอาการที่แก้ความร้อนในร่างกายช่วยอีกทางหนึ่ง อาการก็จะทุเลาลงได้เยอะมาก ๆ
-
ก้านพลู
เป็นสมุนไพรรักษาโรคพื้นบ้านที่คนโบราณนิยมใช้กัน โดยหลักการใช้ให้นำก้านพลูมาหักก้าน ด้านในจะมีน้ำมัน ให้นำน้ำมันส่วนนั้นมาทาที่แผลก็จะช่วยแผลสมานกันเร็วขึ้น และบรรเทาอาการอักเสบได้
อาการแผลเปื่อยในปาก แม้จะเป็นแผลเล็กน้อย ทว่าสามารถก่อให้เกิดโรคแทรกซ้อนอื่น ๆ ได้แล้ว ยังบ่งบอกถึงปัญหาสุขภาพอย่างอื่นได้อีก ดังนั้นผู้ที่มีอาการร้อนใน ไม่ควรละเลย ควรดูแลสุขภาพช่องปากของตนเองก่อน ด้วยวิธีพื้นฐาน หากภายใน 14 วัน อาการแผลในปากไม่ทุเลาลง ควรพบแพทย์หรือทันตแพทย์ทันที เพื่อรับการรักษาที่ถูกต่อโรค
อ้างอิง
- 5 พฤติกรรมเสี่ยง “ร้อนใน” ที่หลายคนอาจไม่ระวัง. https://www.sanook.com/health/10609/