ต้องบอกเลยว่ามีคนจำนวนมากเลยที่พบกับปัญหาข้อเข่าเสื่อม ซึ่งข้อเข่านั้นเป็นเสมือนตัวนำทางเท้าเราไปยังที่ต่าง ๆ หากเกิดอาการเสื่อมขึ้นจะส่งผลต่อการเดินอย่างมากเพราะจะทำให้ความเร็วและความแม่นยำในการเดินลดลง อาจเกิดการหกล้มหรือสะดุดล้มได้ อีกทั้งเกิดความเจ็บปวดขึ้นบริเวณเข่า ไม่ว่าจะเป็นการปวด หรือ บวมที่มีความรุนแรงตามลำดับของการอักเสบ ยิ่งไปกว่านั้นยังส่งผลให้มีปัญหาในการนอนหลับที่ไม่สนิท เพราะตื่นจากอาการปวดที่มีขึ้นเป็นระยะ ๆ อีกด้วย ด้วยเหตุนี้จึงจะต้องมีการผ่าตัด เอากระดูกข้อเข่าที่เสื่อมออก จากนั้นก็นำข้อเข่าเทียมใส่เข้าไปแทน ซึ่งแน่นอนว่าไม่ได้เหมือนเดิม 100% และไม่สามารถอยู่กับเราได้อย่างถาวร ซึ่งในบทความนี้พวกเราก็ได้รวบรวมข้อมูลความรู้เกี่ยวกับ คอลลาเจนข้อเข่าเสื่อม รวมไปถึงบรรเทาอาการปวดจากการอักเสบด้วย ซึ่งมีเรื่องที่น่าสนใจมากมายไม่ว่าจะเป็น ความรู้เกี่ยวกับโรคข้อเข่าเสื่อม อีกทั้งจุดเด่นของคอลลาเจน พร้อมทั้งคำแนะนำเกี่ยวกับการรับประทานอาหารที่ช่วยให้อาการข้อเข่าเสื่อมดีขึ้น เรื่องราวที่น่าสนใจนี้จะเป็นอย่างไรติดตามได้ในบทความนี้
ข้อเข่าเสื่อม เกิดจากอะไร
เป็นอีกหนึ่งโรคสำคัญที่ผู้สูงวัย หรือ ในกลุ่มคนที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป พบได้บ่อยมาก โดยอาการของข้อเข่าเสื่อมค่อนข้างที่จะส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวันเป็นอย่างมากนั่นก็คือ การเดิน ,วิ่ง,ออกกำลังกาย ที่สำคัญ การนั่งนาน ๆ ก็ส่งผลทำให้ปวดที่บริเวณข้อเข่าได้เช่นกัน ด้วยปัญหานี้ทำให้มีหลากหลายวิธีในการรักษา ไม่ว่าจะเป็นการรักษาแบบธรรมชาติ หรือ การผ่าตัด ที่จะต้องมีการพักฟื้น พร้อมกับเริ่มนับ 1 การเดินใหม่อีกครั้ง อย่างไรก็ตามวันนี้พวกเราจะขอพูดถึง สาเหตุที่แท้จริงของ “โรคข้อเข่าเสื่อม” ที่เกิดขึ้นได้จากอายุที่เพิ่มมากขึ้น พันธุกรรม รวมไปถึงผลเสียแอบแฝงอื่น ๆ จากการใช้ร่างกายอย่างหนัก ที่สำคัญพวกเรายังรวบรวมอาการที่บ่งบอกว่าคุณเป็นโรคนี้ และ วิธีรักษา ทั้งรูปแบบของทางการแทพย์ และ การรักษาด้วย “คอลลาเจน” ซึ่งจะมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
7 เหตุผลที่ทำให้เกิดโรคข้อเข่าเสื่อม
1. อายุที่มากขึ้น
สาเหตุสำคัญก็คือเรื่องอายุ เพราะเมื่ออายุมากขึ้น ร่างกายก็เริ่มที่จะเสื่อมโทรมไปตามสภาพ อีกทั้งการสร้างคอลลาเจนก็ลดน้อยลงต่อวัน ทำให้กลุ่มอายุตั้งแต่ 40 ปี ขึ้นไป มีโอกาสที่จะเป็นโรคข้อเข่าเสื่อมถึง 40% เลยทีเดียว โดยเพศหญิงจะมีความเสี่ยงเป็นโรคนี้ได้มากกว่าผู้ชาย 2-3 เท่าเลยทีเดียว
2. น้ำหนักตัวที่มากเกินไป
เรื่องที่ไม่ควรมองข้ามเลยก็คือ น้ำหนักตัวที่มากเกินไป จะส่งผลเกี่ยวกับข้อเข่าเป็นอย่างมาก เพราะการรับน้ำหนักที่มากขึ้นของบริเวณขาก็จะทำให้ส่งผลเสียต่อข้อเข่าได้นั่นเอง รวมไปถึงการที่มีเซลล์ไขมันมากเกินไป ก็จะส่งผลไปถึงเซลล์กระดูกอ่อน ที่อาจจะทำให้เซลล์กระดูกเสื่อมได้เร็วขึ้นนั่นเอง
สำหรับผู้ที่มีน้ำหนักตัวมากกว่าเกณฑ์ หรือ เป็นโรคอ้วน จะมีความเสี่ยงในการเป็นโรคข้อเข่าเสื่อมได้เร็วมากกว่าปกติ เพราะว่าค่าเฉลี่ยของน้ำหนักตัวที่เพิ่มมากขึ้น 0.5 กิโลกรัม ก็จะเพิ่มแรงที่กระทำต่อข้อเข่ามากถึง 1-5 กิโลกรัมเลยทีเดียว รวมไปถึงใครที่ไม่ชอบการออกกำลังกายแล้วยังมีการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ ก็ทำให้มีโอกาสที่จะเกิดโรคนี้ก่อนวัยได้
3. เพศหญิง พบมากกว่าเพศชาย
โรคข้อเข่าเสื่อม จะถูกพบในเพศหญิงมากกว่าเพศชายได้มากถึง 2-3 เท่า ซึ่งมีเหตุผลของการขาดฮอร์โมนเอสโตรเจน ที่จะเป็นตัวป้องกันความเสื่อมของกระดูกอ่อนผิวข้อเข่า โยในส่วนของผู้หญิงที่เป็นช่วงวัยหมดประจำเดือนก็จะยิ่งเกิดโรคนี้ได้มากกว่าปกติด้วยนั่นเอง
4. กรรมพันธุ์ตั้งแต่กำเนิด
แน่นอนเลยว่ากรรมพันธุ์คือสิ่งที่มีความเกี่ยวข้องกับโรคนี้โดยตรง ซึ่งคนในครอบครัว หรือ ญาติพี่น้อง เป็นโรคข้อเข่าเสื่อมมาก่อน ก็ทำให้มีโอกาสเกิดโรคนี้ได้มากขึ้น ถึงแม้ว่าจะไม่มีสัมพันธ์โดยตรงคือ “พ่อ และ แม่” ก็ตามแต่ แต่ก็มีโอกาสที่จะเกิดโรคข้อเข่าเสื่อมได้เช่นกัน
5. เกิดจากการใช้งาน “เข่า”
แน่นอนเลยว่าการใช้งานเข่าในทุกวัน ไม่ว่าจะเป็นกิจกรรมที่เพิ่มแรงกดต่อเข่า ไม่ว่าจะเป็นการวิ่งมาราธอน รวมไปถึงการเดิน ขึ้น หรือ ลง บันไดในทุกวัน จะมีโอกาสที่ทำให้ข้อเข่าเสื่อมได้ ยิ่งไปกว่านั้นการนั่ง หรือ ใช้หัวเข่าผิดท่า การยืนเป็นเวลานาน การก้มยกของ อีกทั้งการนั่งคุกเข่า พับเพียบ หรือ นั่งขัดสมาธิ ก็เป็นต้นเหตุที่จะทำให้เกิดแรงกดต่อเข่าได้เช่นกัน
6. เกิดอุบัติเหตุ
สาเหตุของโรคข้อเข่าเสื่อม อาจจะเกิดขึ้นได้จากการรับบาดเจ็บจากอุบัติเหตุบริเวณข้อเข่า หรือ การบาดเจ็บจากการเล่นกีฬา ออกกำลังกาย ความน่ากลัวของอุบัติเหตุนอกจากอาจทำให้ข้อเข่าเสื่อมแล้ว อาจจะมีการบาดเจ็บที่เฉียบพลันอย่างรุนแรงเช่น เข่าบิด เส้นเอ็นไขว้ขาด หรือ แม้กระทั้งข้อเข่าหัก และ มีเลือดออกในข้อเข่า แน่นอนว่าการรักษาย่อมทำได้ แต่มีโอกาสเสี่ยงมากที่ทำให้เป็นโรคข้อเข่าเสื่อมได้ในอนาคตนั่นเอง
7. สาเหตุจากโรคประจำตัว “รูมาตอยด์ เกาต์”
โรคประจำตัวที่มีผลต้อข้อเข่า หรือ ข้ออักเสบอย่าง รูมาตอยด์ กับ โรคเกาต์ ด้วยอาการที่ข้อเข่าติดเชื้อ จึงเกิดการอักเสบของข้อเข่าได้นั่นเอง
6 อาการที่บอกว่าคุณ ใกล้เป็นโรคข้อเข่าเสื่อม
สำหรับใครที่ยังไม่รู้ว่าตัวเองเข้าใกล้การเป็นโรคข้อเข่าเสื่อมหรือไม่ วันนี้พวกเราได้รวบรวมอาการทั้ง 6 อย่าง ที่จะเป็นสัญญาณบอกได้เลยว่าคุณเองใกล้โรคนี้แล้วหรือไม่ โดยจะมีรายละเอียดของแต่ละอาการแบบละเอียด และ เข้าใจง่าย ๆ ดังต่อไปนี้
1.อาการ “ปวดหัวเข่า”
เป็นอาการแรกเริ่มที่พบได้บ่อยที่สุด ซึ่งจะพบว่ามีอาการปวดมากขึ้นเมื่อมีการเคลื่อนไหว ไม่ว่าจะเป็นการเดิน ขึ้นบันใด นั่งพับเพียบ นั่งยอง ๆ หรือบางครั้งมีอาการปวดจนทำให้นอนไม่หลับ โดยบางครั้งการหยุดพักก็ทำให้อาการปวดหายไป แต่ก็เป็นอีกหนึ่งอาการที่สังเกตได้ง่าย อีกทั้งอาการที่เป็น ๆ หาย ๆ ถ้าหากว่าคุณมีอาการเหล่านี้ 5-6 เดือนติดต่อกันนั่นก็คุณเข้าใกล้โรคข้อเข่าเสื่อมแล้วเป็นที่เรียบร้อย
2.อาการเข่ามีเสียง “กรอบแกรบ”
สำหรับอาการเข่ามีเสียงจะเรียกว่า crepitus โดยจะเป็นอาการของข้อเข่าที่เริ่มสึก จะมีการเสียดสีของเยื่อบุภายในข้อ รวมทั้งเอ็นที่หนาตัวขึ้น จะเกิดความขรุขระของกระดูกอ่อนที่บุปลายหัวกระดูก ซึ่งผู้ป่วยที่เข้าข่ายในการเป็นโรคนี้จะมีเสียงดัง “กรอบแกรบ” ในขณะที่เคลื่อนไหวเข่า อีกทั้งมีอาการปวดร่วมด้วยในบางราย
3.ข้อเข่ามีอาการติด ฝืด แข็ง ตึง
อาการข้อเข่าติด หรือ stiffness จะเป็นอีกหนึ่งอาการที่จะพบได้ในช่วงตื่นนอน เคลื่อนไหวลำบากในตอนเช้า แต่ไม่นานอาการก็จะค่อย ๆ ดีขึ้นตามลำดับ โดยจะเกิดในช่วงเวลาที่อยู่ในท่าใดท่าหนึ่งเป็นเวลานาน ไม่ว่าจะนั่ง นอน หรือ ยืด มักจะเกิดความรู้สึกว่าข้อต่อขาดความยืดหยุ่น เหยียดเข่า หรือ งอเข่าได้ ไม่สุดนั่นเอง
4.อาการเสียวหัวเข่า
สำหรับอาการเสียวหัวเข่า จะเกิดขึ้นในช่วงเวลาเดิน หรือ มีการเคลื่อนไหว แน่นอนเลยว่าจะเกิดจากความบกพร่องในส่วนประกอบของข้อ เช่น ข้อเข่าหลว หรือ กล้ามเนื้อต้นขาอ่อนแรงนั่นเอง แน่นอนว่านี่เป็นอีกหนึ่งอาการที่บ่งบอกว่าข้อเข่าของคุณกำลังเสื่อมนั่นเอง
5.มีอาการบวม ร้อน กดแล้วเจ็บ
สำหรับใครที่เกิดอาการเหล่านี้แสดงว่าเป็นผลจากน้ำในข้อเข่าที่มีมากขึ้น อีกทั้งกระดูกงอกที่ขอบข้อเข่า ทำให้เวลาคลึงจะรู้สึกแข็ง ในบางรายจะรู้สึกปวดได้ในบริเวณหัวเข่า โดยจะมีอาการบวมตามมาอีกหนึ่งอาการคือมีอาการร้อน เข่าอุ่น นั่นก็คือการอักเสบของข้อเข่านั่นเอง แน่นอนว่านี่คือสัญญาณบอกว่าข้อเข่าของคุณมีปัญหาแล้ว
6.อาการข้อเข่าโก่งงอ
โดยอาการนี้จะเรียกว่า swelling and deformity จะมีลักษณะต้นขาลีบ ข้อเข่าผิดรูป โดยอาการนี้เป็นการบอกโดยชัดเจนเลยว่าข้อเข่าเสื่อมแน่นอน ซึ่งจะมีลักษณะโก่งด้านนอก หรือ โก่งด้านใน ต้นขาลีบ บิดเบี้ยวผิดรูป ทำให้ลักษณะขาสั้นลง อีกทั้งยังใช้ชีวิตประจำวันลำบากมาก รวมทั้งอาการปวดเวลาเดิมหรือขยับขาด้วย
โดยทั้งหมด 6 อาการที่กล่าวมาก็จะมีระยะของโรคข้อเข่าเสื่อมได้ทั้งหมด 4 ระยะ ดังนี้
4 ระยะของ โรคข้อเข่าเสื่อม
- ระยะที่ 1 : เป็นปกติ สามารถทำงานทุกอย่างได้
- ระยะที่ 2 : เริ่มที่จะทำงานหนักไม่ได้ มีอาการปวดเข่าร่วม
- ระยะที่ 3 : ทำกิจวัตรประจำวันไม่ได้ อาการปวดมาก และ บ่อยขึ้น
- ระยะที่ 4 : จะไม่สามารถเดินได้เป็นปกติ
ถ้าหากว่าคุณเองยังอยู่ในระยะที่ 1 ก็ต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตให้ลดความเสี่ยงที่มีต่อการกดที่ข้อให้มากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการปรับท่านั่ง หรือ การนั่งที่มีการบิดเข่าอยู่บ่อย ๆ การยืนนานเกินไปก็ทำให้เกิดโรคนี้ได้เช่นกัน ดังนั้นควรมีการนั่งพักบ้าง
ในส่วนของผู้ป่วยที่อยู่ในระยะที่ 2 – 4 นั้น ควรรีบปรึกษาแพทย์ทันที เพื่อวางแผนการรักษาได้อย่างถูกต้อง เพราะจะทำให้ข้อไม่ถูกทำลายลงไปมากกว่าเดิมนั่นเอง ซึ่งจะสามารถช่วยลดโอกาสในการเกิดข้อเข่าเสื่อมที่รุนแรงนั่นเอง
อาการปวดเข่าที่ต้องรีบพบแพทย์
การปวดเข่า มีด้วยกันหลายรูปแบบแต่การเลือกที่จะไปปรึกษาแพทย์นั้นหลายคนก็คงหาคำตอบว่าจะไปหาได้ตอนไหน ? ซึ่งพวกเราก็จะมาแนะนำ 3 อาการปวดรุนแรงที่ควรไปพบแพทย์โดยเร็ว ซึ่งจะมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
1. อาการปวดหัวเข่ารุนแรง ถึงแม้ไม่ได้ขยับ
เมื่ออยู่เฉย ๆ แล้วแต่ยังมีอาการปวดเข่าที่รุนแรง เมื่อมีการขยับเข่า หรือ เคลื่อนไหวมักจะมีอาการปวดที่เพิ่มมากขึ้น โดยลักษณะดังกล่าวจะหมายถึงการอักเสบที่รุนแรง ต้องรีบพอแพทย์โดยด่วนเพื่อทำการรักษา
2.ปวดหัวเข่า มีอาการบวม
สำหรับใครที่มีอาการปวดหัวเข่า แล้วมีความรู้สึกบวม ร้อน แน่นอนเลยว่ามันคือสัญญาณบอกว่ามีการอักเสบขั้นรุนแรง จะต้องรีบพบแพทย์โดยด่วน เพราะว่าอาจจะมีเลือดออกในข้อเข่าได้ โดยจะมีไข้สูงร่วมมาด้วยก็ต้องรีบพบแพทย์เพื่อทำการรักษาทันที
3.อาการปวดลงขา งอเข่าได้ไม่สุด
เมื่อมีอาการปวดเข่าแบบร้าวลงไปที่ขา ค่อนข้างจะอันตรายมาก เพราะเสี่ยงที่จะเดินไม่ได้ หรือ ยืนไม่ได้ในอนาคต อีกทั้งมีอาการงอเข่าได้ไม่สุดร่วมด้วยทำให้จะต้องรีบพบแพทย์ทันที เพราะอาจจะมีหินปูนเกาะที่ข้อเข่าได้นั่นเอง
สำหรับทั้ง 3 อาการที่กล่าวมาแล้วข้างต้นนั้นมักจะเป็นอาการที่รุนแรงต้องรีบพบแพทย์เพื่อทำการรักษาโดยด่วน หรือหากไม่สะดวกเราขอแนะนำให้ใช้แอพปรึกษาหมอฟรี เพราะถ้าหากปล่อยไว้ก็ต้องทนกับอาการปวด และ เสี่ยงอักเสบรุนแรงจนเดินไม่ได้อีกด้วย อย่างไรก็ตามยังมีแนวทางการรักษาเริ่มตั้งแต่ช่วงระยะที่ 1 ถึงระยะที่ 4 เลยด้วย
แนวทางการรักษาโรคข้อเข่าเสื่อม
สำหรับโรคข้อเข่าเสื่อมนั้น สามารถรักษาได้ตั้งแต่ระยะที่ 1 เลย โดยจะเป็นการรักษาเริ่มจากการปรับตัว การใช้ยา การกายภาพบำบัด ซึ่งถ้าเกิดว่าผู้ป่วยอยู่ในระยะที่ 4 แล้ว ก็จะมีวิธีในการรักษาก็คือ การผ่าตัด นั่นเอง โดยรายละเอียดของแต่ละวิธีทางการรักษาจะเป็นอย่างไร ไปดูพร้อม ๆ กันได้เลย
1.การรักษาแบบไม่ใช้ยา
การรักษาแบบไม่ใช้ยา จะเป็นการรักษาโดยธรรมชาติ โดยผู้ป่วยจะต้องปรับเปลี่ยนการดำเนินชีวิตใหม่ทั้งหมด เพื่อกำจัดสาเหตุของโรค ไม่ว่าจะเป็นการออกกำลังกายเป็นประจำ การบริหารข้อ รวมทั้งการลดน้ำหนักที่เป็นสาเหตุหนึ่งของโรคข้อเข่าเสื่อมนั่นเอง โดยวิธีการเหล่านี้จะไม่ต้องรับประทานยา เพียงแค่ปรับเปลี่ยนให้ร่างกายได้รับสิ่งที่มีประโยชน์ต่อกระดูก ข้อต่อ เท่านั้น
2.การกายภาพบำบัด
สำหรับการกายภาพบำบัดนั้น สามารถทำได้ตั้งแต่ผู้ป่วยในระยะที่ 2 หรือ ระยะแรกปลาย ๆ เพราะจะเริ่มมีอาการปวดให้ได้เห็น ดังนั้นการฟื้นฟูบริหารกล้ามเนื้อจึงเป็นเรื่องจำเป็นที่สามารถทำได้เพื่อบรรเทาอาการ แต่การกายภาพบำบัดมีหลายความหนัก-เบา ก็ต้องระวังไม่ให้กระทบต่อกล้ามเนื้อได้
3.การใช้ยารักษา
เมื่อมาถึงขั้นตอนนี้แล้วผู้ป่วยจะอยู่ในอาการระยะที่ 2-4 ซึ่งจะพบอาการปวดข้ออยู่บ่อยครั้ง ต้องมีการรับประทานยาเพื่อบรรเทา หรือ หลาย ๆ คนใช้วิธีฉีดแทน ซึ่งจะเป็นยาในกลุ่มลดอาการปวดเช่น ยาแก้ปวด ลดการอักเสบยาปรับโครงสร้างของข้อ โดยจะต้องอยู่ในการดูแลของแพทย์เฉพาะทางเท่านั้น
4.การผ่าตัด
ในปัจจุบันวิธีนี้นิยมมากเพราะว่าได้ผลดีมาก อีกทั้งทำให้ผู้ป่วยเหมือนได้เข่าใหม่ หรือ การเคลื่อนที่ใหม่ ถึงแม้ว่าแรก ๆ จะยังไม่ชินแต่ก็สามารถปรับตัวได้ไม่นาน โดยจะมีวิธีการผ่าตัดทั้งหมด 3 วิธีที่ได้รับความนิยมนั่นก็คือ
- การผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่า
- การผ่าตัดเปลี่ยนแนวกระดูก
- การผ่าตัดเพื่อให้ผิวของข้อเข้ามาชิดกัน
ด้วยสาเหตุการเกิดโรคข้อเข่าเสื่อม อาการข้อเข่าเสื่อม พร้อมทั้งวิธีการรักษา จะบอกได้ถึงหลังจากที่เกิดโรค การใช้ชีวิตจะดูลำบากมากขึ้น พร้อมทั้งมีอาการเจ็บปวดคอยรบกวนอยู่เสมอ ด้วยสาเหตุจากพันธุกรรม หรือ การใช้ชีวิตประจำวันแบบแอบแฝงแบบที่ไม่รู้ตัว รวมไปถึงการเกิดโดยอุบัติเหตุก็อาจจะส่งผลให้สะสมการเกิดโรคข้อเข่าเสื่อมได้ในทุก ๆ วันนั่นเอง ดังนั้นแล้วพวกเราจึงขอแนะนำกับอีกหนึ่งวิธีการรักษา และ บรรเทาอาการปวดข้อ กับการรับประทาน “คอลลาเจนรักษาข้อเข่า” ที่มีคุณสมบัติที่โดดเด่น และ ได้ผลลัพธ์จริงจากงานวิจัย
คอลลาเจนข้อเข่าเสื่อม กินแล้วช่วยได้จริงหรือไม่
สำหรับการรับประทาน คอลลาเจนเรียกได้ว่ามีประโยชน์หลายด้าน ไม่ว่าจะเป็นความโดดเด่นในเรื่องของการช่วยฟื้นฟูผิวแห้งเสีย บรรเทาอาการโรคผิวหนังอักเสบ ปัญหาผิวต่าง ๆ ให้กลับมาดูสุขภาพดีได้อีกครั้ง อีกทั้งยังส่งผลให้ผิวดูเรียบเนียน ริ้วรอยดูจางลง สีผิวดูกระจ่างใสขึ้น แน่นอนเลยว่านี่คือคุณสมบัติที่ทุกคนพอจะทราบกันดีอยู่แล้วจากคำโฆษณาต่าง ๆ ในช่องทางการขาย แต่รู้หรือไม่ว่า “คอลลาเจน” สามารถรักษาข้อเข่าเสื่อมได้ด้วย ซึ่งข้อมูลต่อไปนี้จะเป็นเรื่องราวที่ขอพูดถึง คอลลาเจนข้อเข่าเสื่อม อย่าง type 2 หรือ คอลลาเจนประเภทที่ 2 ที่นำมาใช้บำรุงข้อต่อ และ กระดูกอ่อนนั่นเอง ซึ่งบอกเลยว่าตอนนี้ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก
รู้จักคอลลาเจน type 2
สำหรับคอลลาเจนทั่วไปจะรู้จักกันดีว่าคือ สารสกัดโปรตีนที่เป็นส่วนประกอบของเนื้อเยื่อ รวมไปถึงกระดูกอ่อน และ ข้อต่อด้วย อย่างไรก็ตามคุณสมบัติที่เป็นเหมือนกาวของคอลลาเจนก็ส่งผลให้เข้าไปทำหน้าที่ซ่อมแซมในส่วนที่สึกหรอ แต่ข้อจำกัดทางด้านอายุของมนุษย์ที่อายุมากขึ้น คอลลาเจนก็จะผลิตออกมาได้น้อยลงไม่สมดุลเท่ากับการสูญเสีย และแน่นอนเลยว่า คอลลาเจนประเภทที่ 2 อย่าง type 2 จึงมีคุณสมบัติที่ช่วยบำรุงข้อต่อ บำรุงกระดูกอ่อนได้อย่างน่าประทับใจ
ด้วยความนิยมของคอลลาเจน type 2 นั้น ต้องขออธิบายว่า สารสกัดประเภทที่ 2 นี้จะแบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ
- Collagen hydrolysate
- Undenatured collagen
โดยคอลลาเจนในประเภทนี้จะพบในกระดูกอ่อน ผิว ข้อต่อ มีคุณสมบัติช่วยกระตุ้นร่างกายให้สังเคราะห์เซลล์ใหม่ขึ้นมาซ่อมแซมในส่วนที่สึกหรอ อีกทั้งยังช่วยเพิ่มระดับน้ำไขข้อ พร้อมทั้งยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ที่จะย่อยสลายน้ำไขข้อด้วย แน่นอนว่าเรื่องนี้ถูกอ้างอิงจากงานวิจัย การศึกษาของ University of Tuebingen ประเทศเยอรมนี ซึ่งมีการนำผู้ป่วยข้อเข่าเสื่อมจำนวน 2,000 คน เข้าทดสอบ รับคอลลาเจนวันละ 5 กรัม ติดต่อกันเป็นเวลา 3 เดือน ผลลัพธ์ปรากฏว่า ช่วยลดการอักเสบ รวมทั้งอาการเจ็บปวดจากการเคลื่อนไหวได้แบบไม่ต้องผ่าตัดด้วย
ดังนั้นคำตอบเกี่ยวกับคำถามเรื่องคอลลาเจนที่จะช่วยรักษาโรคข้อเข่าเสื่อม ต้องบอกเลยว่าสามารถรับประทานได้ รวมทั้งช่วยบำรุงทั้งผิวพรรณ และ ร่างกายภายในทุกส่วนด้วย แต่สำหรับผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อมจะต้องเลือก คอลลาเจนข้อเข่าเสื่อม ในชนิด type 2 เท่านั้น เพราะว่าจะเห็นผลในเรื่องของบำรุงกระดูกอ่อน ข้อต่อ ได้ดีที่สุด อย่างไรก็ตามคอลลาเจนตามท้องตลาดก็มีส่วนผสมที่ลึกลับ การเลือกรับประทานอาหาร หรือ การเลือกซื้อแบรนด์คอลลาเจนที่เชื่อถือได้นับได้ว่าเป็นอีกหนึ่งช่องทางที่จะทำให้คุณเลือกในสิ่งที่ถูกต้องมากกว่า สินค้าราคาถูกแต่ไร้มาตรฐาน
วิธีเลือกและรับประทานสำหรับผู้ป่วยข้อเข่าเสื่อม
ท้ายที่สุดสิ่งที่สำคัญก็เห็นจะอยู่ที่การเลือกรับประทานอาหาร เพราะสำหรับผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อมจำเป็นมากที่จะต้องควบคุมอาหารที่ส่งผลให้ปวดข้อเข่า หรือ ข้อเข่าอักเสบ ซึ่งจะมีรายละเอียดของอาหารที่ผู้ป่วยควรรับประทาน และ อาหารที่ควรระวัง ดังนี้
1.อาหารมีกรดไขมันโอเมก้า-3 สูง
สำหรับผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับกระดูก หรือ ข้อเข่า จะเน้นให้รับประทานอาหารที่มีกรดไขมันโอเมก้า-3 ในปริมาณสูง โดยเฉพาะอาหารทะเล หรือ ปลาทะเลน้ำลึก รวมไปถึงปลาน้ำจืดประเภทปลาเนื้อขาว ที่จะมีคุณสมบัติช่วยบำรุงข้อต่อ กระดูก ให้แข็งแรงอยู่เสมอ อีกทั้งกรด OMEGA 3 ยังช่วยลดอาการปวด หรือ อาการอักเสบในผู้ป่วยที่มีข้อเข่าอักเสบด้วยเช่นกัน นับได้ว่าเป็นสารอาหารที่มีประโยชน์มากสำหรับผู้สูงวัย หรือ ผู้ใหญ่วัยทั่วไป
2.อาหารที่มีสารต้านอนุมูลอิสระหรือเบต้าแคโรทีนสูง
สารอาหารอีกหนึ่งชนิดที่ขอแนะนำสำหรับผู้ที่ต้องการบำรุงข้อ หรือ ผู้ที่เป็นโรคข้อเข่าเสื่อม นั่นก็คือ รับประทานอาหารทีมีสารต้านอนุมูลอิสระ หรือ เบต้าแคโรทีนสูง โดยจะเป็นพวกผักชนิดต่าง ๆ ตัวอย่างเช่น ใบยอ ยอดแค ผักโขม ผักคะน้า ผักกระเฉด ถั่วงอก รวมไปถึงผักหลากสีเช่น มะเขือเทศ แครอท กะหล่ำปลี ข้าวโพด เป็นต้น ซึ่งแน่นอนว่าผักผลไม้ที่กล่าวมาข้างต้นจะได้วิตามินที่หลากหลาย ยิ่งไปกว่านั้นผักใบเขียวยังมีวิตามินเค ที่ช่วยในการบำรุงกระดูกค่อนข้างสูงด้วย
3.อาหารที่มีแคลเซียมสูง
ถ้าพูดถึงจุดเด่นของการดูแลกระดูก ก็คงจะเป็น “แคลเซียม” ที่ต้องรับประทานเพิ่ม โดยอาหารที่ทานเพิ่มก็ได้แค่ อัลมอนด์อบ งาดำ ถั่ว รวมไปถึงการรับประทานปลาตัวเล็กก็จะเพิ่มแคลเซียมให้กับกระดูกเป็นอย่างมาก แต่สำหรับผู้สูงวัยการรับประทานนมสด หรือ นมวัว อาจจะเป็นทางเลือกที่ไม่แนะนำ แต่ถ้าเป็นเด็ก หรือ วัยรุ่น วัยทำงาน การรับประทานนมก็ยังให้ประโยชน์ในการสร้างแคลเซียมอยู่
4.อาหารที่อุดมด้วยวิตามินซี
วิตามินซี คือ อีกหนึ่งสารสกัดที่เป็นตัวขับเคลื่อนสำคัญให้กับร่างกาย ช่วยให้ร่างกายดูดซึมสารอาหารได้ดีขึ้น ยิ่งไปกว่านั้นการรับประทานคู่กับคอลลาเจน ก็จะเป็นเหมือนตัวเร่งกระตุ้นให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยอาหารที่เต็มไปด้วยวิตามินซีนั้นมีหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็น ส้ม สัปปะรด มะละกอสุก เป็นต้น ซึ่งแน่นอนว่าในบ้านเราหาทานได้ง่ายมาก แต่ควรระวังการสกัดเป็นรูปแบบน้ำ อย่างเช่น น้ำส้ม หรือ น้ำสัปปะรด เพราะจะมีน้ำตาลผสมอยู่ค่อนข้างมาก แนะนำให้ทานเป็นลูก ๆ เพราะจะมีกากใยอาหารที่ช่วยในเรื่องการขับถ่ายได้ดีด้วย
5.อาหารที่มีสารกลุ่มไบโอฟลาโวนอยด์
คงจะต้องเรียนรู้ชื่อของสารกลุ่มนี้กันสักหน่อยกับ “ไบโอฟลาโวนอยด์” โดยอาหารในกลุ่มนี้จะประกอบไปด้วย ตระกูลเบอรี่อย่าง บลูเบอร์รี่ เชอร์รี่ แอปเปิ้ล หัวหอม รวมทั้งมะเขือเทศ โดยจะออกฤทธิ์ในการต้านการอักเสบ พร้อมทั้งเพิ่มประสิทธิภาพการดูดซึมวิตามินซีได้ดี อีกทั้งยังสร้างความแข็งแรงให้กับเนื้อเยื่อ มีส่วนช่วยในการลดโอกาสการเกิดรอยฟกช้ำ หรือ รอยบวม นั่นเอง
6.รับประทานอาหารประเภทอบ
สำหรับผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อมนั้น จำเป็นมากที่จะต้องเลือกรับประทานอาหารประเภทอบ เพราะจะเป็นการควบคุมไขมันจากน้ำมันที่ใช้ในการทอด เป็นการตุ๋น ต้ม ย่าง เพราะยิ่งน้ำหนักตัวมาก ส่วนข้อเข่าก็จะยิ่งทำงานหนักมากเช่นเดียวกัน
อาหารที่ควรเลี่ยง ผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อม
สำหรับผู้ที่มีภาวะข้อเข่าเสื่อม หรือ ป่วยเป็นโรคข้อเข่าเสื่อมนั้น จำเป็นมากที่จะต้องระมัดระวังเกี่ยวกับการรับประทานอาหารในแต่ละวัน เพราะการเผลอรับประทานชนิดอาหารที่ส่งผลเสียต่อระบบการทำงานของร่างกาย รวมไปถึงอาหารที่ส่งผลเรื่องน้ำหนักที่เป็นปัญหาที่แก้ยากที่สุดของโรคนี้ โดยจะมีตัวอย่างอาหารที่ผู้ป่วยโรคนี้ควรเลี่ยง ดังต่อไปนี้
1.อาหารเสริมและวิตามินสำเร็จรูป
ผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อม ก่อนที่จะรับประทานอาหารเสริม หรือ วิตามินสำเร็จรูปนั้น จำเป็นที่จะต้องปรึกษาแพทย์ก่อนรับประทาน เพราะว่าจะต้องมีการวินิจฉัยว่าขาดวิตามินประเภทใด ทางแพทย์จะลงความเห็นในการกำหนดเรื่องปริมาณที่เหมาะสม เพราะว่าวิตามินบางชนิดเมื่อได้รับมากเกินไปก็อาจจะเป็นโทษต่อร่างกายได้
2.อาหารที่มีโซเดียมสูง
ร่างกายของเราควรได้รับโซเดียมอย่างเพียงพอในแต่ละวัน แต่ทว่าการได้รับมากเกินไปก็ส่งผลเสียในเรื่องของเซลล์ที่มีการเก็บน้ำเอาไว้มากเกินไปจนร่างกายเกิดการบวมน้ำ น้ำหนักก็จะขึ้นตามไปด้วย อย่างไรก็ตามควรหลีกเลี่ยงการปรุงรสอาหารด้วยเกลือ น้ำปลา ซอส อาหารแปรรูป หมัก ดอง รวมไปถึงขนมถุงด้วย เพราะจะมีจำนวนโซเดียมในปริมาณมากเกินความจำเป็นนั่นเอง
3.อาหารที่หวานมาก
อาหารรสชาติหวานมีผลดี แต่ก็มีผลกระทบสำหรับผู้ป่วยในภาวะต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็เบาหวาน ความดัน รวมไปถึงโรคข้อเข่าเสื่อมด้วย เพราะอาหารที่มีน้ำตาลมากจะทำให้มีผลกระทบต่อการตอบสนองของภูมิคุ้มกัน และ ทำให้ปวดข้อเข่าได้
4.อาหารจำพวกแป้งขัดขาว
อาหารประเภทแป้งขัดขาวนั้น จะกระตุ้นการอักเสบของข้อต่อ กระดูก รวมไปถึงขนมปังข้าว พาสต้า ธัญพืชขัดขาว เป็นต้น
5.อาหารทอดหรืออาหารที่มีไขมันอิ่มตัวมาก
สำหรับผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อมจำเป็นที่จะต้องงด หรือ หลีกเลี่ยงอาหารทอด หรอ อาหารที่มีไขมันอิ่มตัวมาก เพราะอาจจะทำให้เกิดน้ำหนักตัวที่เพิ่มมากขึ้น พร้อมทั้งเกิดการอักเสบของข้อเข่าได้ ในตระกูลทอดให้งด และ หลีกเลี่ยงถ้าคุณไม่อยากปวดข้อเข่า
6.เนื้อสัตว์ที่ปรุงด้วยอุณหภูมิสูงนานๆ
รู้หรือไม่ว่า เนื้อสัตว์ที่ปรุงด้วยอุณหภูมิสูงนาน ๆ จะทำให้เสียคุณค่าทางอาหาร พร้อมทั้งเกิดสาร AGEs (Advanced Glycation End Products) โดยสารชนิดนี้จะไปกระตุ้นทำให้เกิดการอักเสบของข้อต่อในส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย รวมไปถึงข้อเข่าด้วย
7. เครื่องดื่มคาเฟอีน
สำหรับเครื่องดื่มคาเฟอีนทุกชนิด จะมีการขับแคลเซียมออกมาทางปัสสาวะ จนทำให้แคลเซียมในร่างกายเสียสมดุล ซึ่งถ้าได้รับในปริมาณมากเกินความจำเป็น หรือ ได้รับเป็นประจำ จะทำให้กระดูกบางลงไปด้วย
8. เครื่องดื่มแอลกอฮอล์
เป็นสิ่งที่ผู้ป่วยจะต้องงด และ หลีกเลี่ยงเด็ดขาด เพราะว่าจะเป็นปัจจัยที่กระตุ้นอาการต่าง ๆ ของโรคข้อเข่าเสื่อมได้ รวมไปถึงโรคอื่น ๆ ที่เข้ามาแทรกแซงได้เช่นกัน อย่างไรก็ตามการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ยังทำให้ยาที่ได้รับประทานอยู่นั้น ไม่ได้ออกฤทธิ์ดีเท่าที่ควร ดังนั้นทำให้ไม่ได้รับการรักษาแบบที่ควรจะเป็น
สำหรับการรับประทานอาหารของผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อมนั้น จำเป็นมากที่จะต้องระมัดระวังในเรื่องของการสูญเสียแคลเซียม รวมทั้งการเพิ่มน้ำหนักจากการปรุงรส ไม่ว่าจะเป็น ไขมัน น้ำตาล โซเดียม เพราะน้ำหนักตัวที่มากขึ้นจะส่งให้เพิ่มแรงกดไปที่ข้อเข่ามากขึ้นเช่นกัน รวมไปถึงอาหารบางชนิดอาจจะไปกระตุ้นให้มีอาการปวดข้อเข่าด้วยนั่นเอง อย่างไรก็ตามก่อนรับประทานอาหารผู้ป่วยภาวะนี้ควรที่จะระมัดระวังให้มาก
ร่างกายของเรามีส่วนที่สำคัญทุกอย่าง อวัยวะทุกอย่างล้วนแล้วแต่จะทำให้คุณสามารถใช้ชีวิต ปฏิบัติกิจวัตรประจำวันทุกอย่างได้สะดวกมากขึ้น ถ้าหากว่ามีอาการปวดขา ปวดข้อเข่า ก็จะส่งผลกระทบในการทำงาน หรือ การใช้ชีวิตเป็นอย่างมาก แน่นอนเลยว่าข้อมูลของพวกเราในวันนี้ค่อนข้างที่จะเยอะพอสมควร แต่บอกเลยว่าเป็นสาระดี ๆ ที่ครอบคลุมให้ทุกคนทำความเข้าใจเกี่ยวกับ โรคข้อเข่าเสื่อม การรักษาด้วยคอลลาเจน พร้อมทั้งข้อแนะนำเกี่ยวกับการดูแลร่างกายให้มีสุขภาพดีอยู่ตลอดเวลา อย่างไรก็ตามการรักษาสุขภาพขั้นพื้นฐานก็ยังคงแนะนำให้ รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย มีการออกกำลังกายเป็นประจำ พักผ่อนให้เพียงพอ ลดความเครียด และที่สำคัญเมื่อเจ็บป่วยไม่ว่าจะเล็กน้อยก็ต้องพบแพทย์เพื่อทำการวินิจฉัย และ วางแผนในการรักษาเป็นลำดับต่อไป
อ้างอิง:
- กินอะไรให้ข้อเข่าแข็งแรง. https://www.phyathai.com/article_detail/2597/th/กินอะไรให้ข้อเข่าแข็งแรง
- กลูโคซามีน คอนดรอยติน คอลลาเจนข้อเข่าเสื่อม กับการรักษาโรคข้อเข่าเสื่อม. https://kdmshospital.com/article/glucosamine-chondroitin-collagen/
- รู้หรือไม่ ? “โรคข้อเข่าเสื่อม” ไม่ต้องรอแก่ก็เป็นได้. https://www.bangpakok1.com/care_blog/view/40