จากข้อมูลของ ศ.เกียรติคุณ นพ.สันต์  หัตถีรัตน์ นายกสมาคมเวชศาสตร์ฉุกเฉินแห่งประเทศไทยเผยว่า สถิติของคนไทยต้องเสียชีวิตด้วยโรคหัวใจวายเฉียบพลันถึงชั่วโมงละ 2 คน เพราะผู้ที่มีอาการในระยะแรกจะไม่มีสัญญาณเตือนใด ๆ เลย รู้ตัวอีกทีก็อาจจะเริ่มมีอาการเจ็บหน้าอกจนเหมือนถูกรถเหยียบจึงรู้ว่าตัวเองอาจเกิดภาวะ หัวใจวาย เฉียบพลันได้ ที่สำคัญวัยหนุ่มสาวหรือวัยทำงานก็สามารถเป็นได้เช่นกัน ฉะนั้นเเล้วเราจึงควรทราบถึงสาเหตุของการเกิดโรคนี้เพื่อเตรียมตัวรับมือและป้องกันก่อนที่อาจจะสายเกินไป

หัวใจวายเฉียบพลัน เกิดขึ้นเพราะอะไร?

หัวใจวายเฉียบพลัน เกิดจากอะไร?

หัวใจวายเฉียบพลันหรือที่ทางการแพทย์เรียกว่า ‘ภาวะหัวใจขาดเลือด’ คือภาวะที่หัวใจไม่สามารถปั๊มเลือดเพื่อนำไปหล่อเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกายได้ ซึ่งถ้าให้เปรียบหน้าที่ของหัวใจก็คงเปรียบได้กับปั๊มน้ำที่คอยส่งน้ำไปยังส่วนต่าง ๆ ของบ้าน หากปั๊มน้ำอ่อนแรงก็จะไม่สามารถส่งออกเพื่อนำไปใช้งานได้ ก็เหมือนกับหากหัวใจเริ่มอ่อนแรงและไม่สามารถปั๊มเลือดได้อย่างมีประสิทธิภาพ อวัยวะต่าง ๆ ในร่างกายก็จะเริ่มเข้าสู่ภาวะขาดเลือดทำให้เกิดอาการวูบหรือเป็นลมได้ หากเกิดภาวะขั้นรุนแรงจนน้ำท่วมปอดทำให้หายใจไม่ทันจะทำให้หัวใจล้มเหลวและหยุดเต้นจนเสียชีวิตได้ทันที โดยคุณต้องหมั่นสังเกตอาการของตัวเองว่ามีสัญญาณเตือนโรคหัวใจหรือไม่ ซึ่งทั่วไปมักมีอาการ ดังนี้

  • ระยะแรก : รู้สึกเหนื่อยง่ายเวลาออกแรงหรือออกแรงได้น้อยลง
  • ระยะสอง : จากที่เคยทำกิจวัตประจำวันได้ปกติ จะรู้สึกเหนื่อยแบบที่ไม่เคยเหนื่อยมาก่อนทั้งที่ทำแบบเดิมทุกวัน
  • ระยะสาม : ไม่ว่าจะนั่งอยู่เฉย ๆ หรือนอนราบก็จะรู้สึกเหนื่อยและมีอาการไอ ขาบวม รวมไปถึงน้ำหนักเพิ่มขึ้นเร็วกว่าปกติ

โดยทั่วไปแล้ว อาการในระยะที่ 1 และ 2 ถือว่าเป็นสัญญาณเตือนของโรคหัวใจ แต่หากคุณมีอาการเหมือนในระยะที่ 3 ควรไปพบแพทย์ทันทีเพราะอันตรายมากจนอาจทำให้หัวใจเกิดภาวะล้มเหลวจนถึงขั้นเสียชีวิตได้

10 พฤติกรรมเสี่ยงต่อการเกิดภาวะหัวใจวายเฉียบพลัน

  1. กินอาหารที่มีไขมันสูงเป็นประจำทุกวัน

อาหารจำพวกที่มีคอลเลสเตอรอลสูงอย่าง ขนมหวาน ขนมเค้ก ชีส เนื้อสัตว์ติดมัน อาหารสำเร็จรูป ฟาสฟู๊ด หรืออาหารปิ้งย่าง ที่ส่งผลทำให้เกิดภาวะไขมันในเลือดและคลอเลสเตอรอลสูงจนไปอุดตันในหลอดเลือดหัวใจ ทำให้เกิดอาการกล้าเนื้อหัวใจขาดเลือดได้

  1. การสูบบุหรี่จัด

บุหรี่ คือต้นเหตุที่ทำให้หลอดเลือดหัวใจหดตัว ทำให้หลอดเลือดหัวใจเกิดอาการตีบลงจนเกิดภาวะหัวใจขาดออกซิเจน ส่งผลให้เกิดอาการจุก เสียด เจ็บหน้าอก และเกิดภาวะหัวใจวายเฉียบพลันได้

  1. ความเครียด

ในหนุ่มสาววัยเรียนหรือวัยทำงานหากมีความเครียดสูงก็อาจก่อให้เกิดโรคนี้ได้ เพราะเมื่อคุณเครียดหัวใจจะเต้นผิดจังหวะจนมีโอกาสเกืดโรคหลอดเลือดแดงแข็งตัว ทำให้มีไขมันหรือการอักเสบต่าง ๆ เกาะอยู่ตามผนังหลอดเลือดและอุดตัน จึงเสี่ยงต่อภาวะหัวใจขาดเลือดเป็นอย่างยิ่ง

  1. ดื่มเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของ คาเฟอีน มากเกินไป

สำหรับผู้ที่ชอบดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนเป็นประจำอย่าง ชา กาแฟ เครื่องดื่มชูกำลัง ฯลฯ จะทำให้ร่างกายเกิดภาวะเสียสมดุลของสารเกลือแร่จนเกิดอาการชักเกร็ง หลังแอ่น ปอดแฟบ ความดันโลหิตพุ่งสูงอย่างเฉียบพลัน รวมถึงหัวใจเกิดอาการบีบรัดมากเกินไป ส่งผลไปที่ระบบทางเดินหายใจและระบบไหลเวียนเลือดล้มเหลวจนเสียชีวิตได้

10 พฤติกรรมเสี่ยงต่อการเกิดภาวะหัวใจวายเฉียบพลัน

  1. การใช้สารเสพติด

การใช้ยาเสพติดอย่าง โคเคน แอมเฟตามีน อาจทำให้หลอดเลือดมีการหดตัวอย่างรุนเเรง ส่งผลให้เกิดภาวะหัวใจขาดเลือดหรือหัวใจวายเฉียบพลันได้

  1. ความอ้วน

ผู้ที่เป็นโรคอ้วนหรือมีน้ำหนักเกินมาตรฐานส่วนใหญ่มักจะเป็นโรคเรื้อรังที่รักษาไม่หายตามมา เช่น โรคเบาหวาน ความดันโรหิตสูง และโรคหัวใจ สาเหตุมาจากการที่มีไขมันในเลือดสูง ส่งผลให้การไหลเวียนโลหิตติดขัด ซึ่งอาจทำให้ร่างกายขาดเลือดและเสียชีวิตกระทันหันได้

  1. ออกกำลังกายหนักเกินไป

สำหรับคนที่เป็นโรคหัวใจอยู่แล้วทั้งแบบที่รู้ตัวกับไม่รู้ตัว การออกกำลังกายเพื่อสร้างภูมคุ้มกันที่แข็งแรงนั้นเป็นเรื่องที่ดี  แต่หากออกกำลังหนักเกินไปก็อาจเป็นการเพิ่มภาระให้ระบบหัวใจและปอดทำงานหนักมากขึ้น จนสูญเสียความสามารถในการทำงานได้เช่นกัน ดังนั้น หากออกกำลังกายแล้วรู้สึกเหนื่อนหอบจนไม่สามารถพูดได้ ควรชะลอการออกกำลังกายและหยุดพักทันที ห้ามฝืนต่อเพราะเสี่ยงเสียชีวิตได้

  1. ออกกำลังกายไม่เพียงพอ

หากคุณเป็นคนที่ไม่ออกกำลังกาย นอกจากจะทำให้ร่างกายมีสุขภาพที่ไม่ค่อยแข็งแรงแล้ว ยังเสี่ยงต่อการเป็นโรคอ้วนทำให้ไขมันอุดตันในเส้นเลือดและส่งผลให้หัวใจขาดเลือดได้

  1. ภาวะช็อก

การเกิดอาการช็อกมักเกิดกับผู้ที่สูญเสียเลือดในปริมาณมาก เช่น ผู้ที่ประสบอุบัติเหตุเสียเลือดมาก ทำให้หัวใจมีเลือดไปหล่อเลี้ยงไม่เพียงพอและเกิดอาการขาดเลือดได้

  1. เกิดเรื่องที่สะเทือนจิตใจอย่างรุนแรง

ผู้ที่มีความเครียดมาก ๆ กับเรื่องที่มากระทบจิตใจอย่างรุนแรงทางการแพทย์จะเรียกว่า ‘ภาวะหัวใจสลาย’ หรือชื่ออย่างเป็นทางการคือ ‘โรคกล้ามเนื้อหัวใจผิดปกติทาโคสึโบะ’ เช่น สูญเสียคนรักอย่างกระทันหันหรือเจอความผิดหวังหนัก ๆ ทำให้หลอดเลือดหัวใจจะแข็งตัวทันที เลือดจึงไม่สามารถผ่านไปเลี้ยงหัวใจได้ ซึ่งอาจทำให้หัวใจล้มเหลวและรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิต

อาการของผู้ที่มีโอกาส ‘หัวใจวายเฉียบพลัน’

ผู้ที่มีโอกาสเกิดภาวะหัวใจวายเฉียบพลันมักจะเกิดขึ้นโดยไม่มีสัญญาณเตือนใด ๆ ก่อนหน้านี้เลยเพราะชื่อก็บ่งบอกอยู่แล้วว่า เฉียบพลัน แต่หากคุณสังเกตุตัวเองหรือคนรอบข้างว่ามีอาการ ดังนี้ ควรรีบไปพบแพทย์โดยเร็วที่สุด

  • มีอาการเจ็บหน้าอกเฉียบพลันมากกว่า 20 นาที
  • มีเหงื่อออกตามร่างกายและเหนื่อยง่าย
  • ชีพจรเต้นเร็ว หายใจถี่
  • วิงเวียนศีรษะ หน้ามืด อาเจียน
  • ปวดจุกที่ท้องบริเวณลิ้นปี่ ปวดร้าวไปที่กราม หรือไหล่ด้านซ้ายโดยเฉพาะ

หากคุณพบเห็นผู้ที่มีอาการหัวใจวายเฉียบพลัน ถ้าพวกเขาได้รับการช่วยเหลืออย่างถูกวิธีและทันเวลา ก็จะสามารถลดอัตราการเสียชีวิตของผู้ป่วยได้ โดยการช่วยเหลือเบื้องต้นมี ดังนี้

  1. หากผู้ป่วยหมดสติให้เขย่าตัวดูว่ายังมีการตอบสนองอยู่หรือไม่
  2. หากไม่มีการตอบสนองให้สังเกตว่าผู้ป่วยมีการกระตุก ชักเกร็ง หายใจเฮือกหรือไม่ ถ้าใช่ให้สันนิฐานไว้ก่อนว่าผู้ป่วยมีภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน
  3. รีบแจ้งไปที่เบอร์ฉุกเฉินและช่วยชีวิตขั้นพื้นฐานด้วยการนวดหัวใจหรือทำ CPR เพื่อช่วยให้หัวใจบีบเลือดออกไปเลี้ยร่างกาย

10 พฤติกรรมเสี่ยงต่อการเกิดภาวะหัวใจวายเฉียบพลัน

วิธีดูแลตัวเองเพื่อหลีกเลี่ยงภาวะหัวใจวายเฉียบพลัน

  1. ควบคุมน้ำหนักให้ได้ตามเกณฑ์มาตรฐานเพื่อไม่ให้ไขมันในเลือดสูงเกินไป
  2. ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
  3. ใส่ใจเรื่องอาหารการกิน โดยไม่กินอาหารฟาสฟู๊ดหรืออาหารสำเร็จรูปเป็นประจำทุกวัน
  4. รับประทานอาหารที่มีส่วนช่วยในการลดไขมันในร่างกาย เช่น อาหารธัญพืชเพื่อสุขภาพ
  5. หลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคเรื้อรังอย่างโรคเบาหวานและความดัน
  6. หลีกเลี่ยงการดื่มเหล้าและสูบบุหรี่จัด
  7. จัดการกับความเครียดเพื่อป้องกันไม่ให้ร่างกายเกิดความเครียดจัด
  8. พักผ่อนให้เพียงพอ

แม้ภาวะหัวใจล้มเหลวหรือหัวใจวายเฉียบพลันจะสามารถรักษาได้แต่มันก็เป็นการแก้ไขปัญหาที่ปลายเหตุทำให้ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการรักษา ทางที่ดีเราควรหันมาสนใจสุขภาพของหัวใจเพื่อแก้ไขปัญหาที่ต้นเหตุด้วยการหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงกัน ซึ่งปัจจุบันโรคนี้ผู้ที่มีอายุน้อยก็สามารถเป็นได้เพราะส่วนใหญ่มักมีพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่ไม่ค่อยใส่ใจสุขภาพมากนัก ทั้งการกินอาหารฟาสฟู๊ดหรืออาหารรสเค็มจัด หวานจัดก็ถือว่าเป็นพิษต่อหัวใจและทำให้เสี่ยงต่อการเกิดภาวะหัวใจล้มเหลวได้แม้อายุน้อย

อ้างอิง

Similar Posts